โครงการ Solar car จากความฝันสู่ท้องถนนไทย ประสบการณ์เทคโนโลยีจากพี่สู่น้อง บรรยายโดย ทีมอาจารย์และนักศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม

ณ สถาบันการศึกษาทั่วประเทศ ตลอดเดือนกุมภาพันธ์ 2561 สนใจเข้าร่วมโครงการรับในสมัครได้ที่ สถาบันของท่านหรือ ดาวน์โหลดในสมัครได้ที่นี่ – รายละเอียดโครงการเทคโนโลยีจากพี่สู่น้อง – ใบสมัครเข้าร่วมกิจกรรมโรงเรียน – ในสมัครเข้าร่วมโครงการสำหรับนักเรียน/นักศึกษา **** เพื่อร่วมรับฟังและแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากทีม STC-2 และลุ้นเข้าคัดเลือกร่วมทีม STC-3 ในการแข่งขัน WSC 2019 ณ

Read more

ประวัติความเป็นมาของรถพลังงานแสงอาทิตย์ (ตอนที่ 12)

รายการแข่งขัน World Solar Challenge ในปี 2017 นี้ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ได้สร้างรถพลังงานแสงอาทิตย์ขึ้นมาถึง 2 คัน คันแรกเป็นรุ่น Challenger Class (Aerodynamic Master Pieces) ใช้ชื่อทีมว่า “STC-2 Edison”

Read more

นั่งคุย รถพลังงานแสงอาทิตย์ กับ #เพชรจ้า วิเชียร กุศลมโนมัย

“พลังของปลาอยู่ที่หาง พลังของคนอยู่ที่ใจ” #รถพลังงานแสงอาทิตย์ กับ #เพชรจ้า วิเชียร กุศลมโนมัย ร่วมส่งแรงใจเชียร์เด็กไทยในการแข่งขันรายการ World Solar Challenge 2017

Read more

ประวัติความเป็นมาของรถพลังงานแสงอาทิตย์ (ตอนที่ 11)

รถพลังงานแสงอาทิตย์คันแรกของประเทศไทย ที่เข้าร่วมการแข่งขัน World Solar Challenge (WSC) คือทีม STC-1 จากคณะเทคโนโลยี วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ซึ่งเข้าร่วมแข่งขันในปี ค.ศ. 2015 ภายใต้แนวคิดในการยกระดับมาตรฐานการศึกษาของไทยสู่มาตรฐานโลกของอธิการบดี อาจารย์พรพิสุทธิ์ มงคลวนิช โดยการแข่งขันในครั้งนั้นประกอบด้วยตัวแทนจากประเทศต่างๆ เข้าร่วมแข่งขันกว่า 50 ทีม

Read more

ประวัติความเป็นมาของรถพลังงานแสงอาทิตย์ (ตอนที่ 10)

หลังการทดสอบสมรรถนะ แบบอยู่กับที่ (static scrutineering) และ แบบเคลื่อนที่ (dynamic scrutineering) ที่แสนยาวนาน สิ่งที่ผู้ร่วมแข่งขันซึ่งผ่านการทดสอบจะได้รับก็คือ ทะเบียนรถอย่างเป็นทางการซึ่งออกโดย รัฐนอร์เทิร์นเทร์ริทอรี (Northern Territory) ของประเทศออสเตรเลีย หลังจากนี้รถพลังงานแสงอาทิตย์ก็จะสามารถขับเคลื่อนบนท้องถนนของประเทศได้อย่างถูกต้องตามกฏหมาย โดยจะเริ่มปล่อยตัวจากเมืองดาร์วิน (Darwin) ตั้งแต่เช้าในวันถัดไป เพื่อออกเดินทางมุ่งหน้าไปยังเมือง

Read more

ประวัติความเป็นมาของรถพลังงานแสงอาทิตย์ (ตอนที่ 9)

หลังการทดสอบสมรรถนะ แบบอยู่กับที่ (static scrutineering) ถัดไปก็จะเป็นการทดสอบแบบเคลื่อนที่ (dynamic scrutineering) สิ่งที่เราจะต้องทดสอบกันในวันนี้คือการเคลื่อนที่ใน 3 ประเภท ประเภทแรกคือการเลี้ยวโค้งโดยรัศมีวงเลี้ยวต้องไม่เกิน 16 เมตร ประเภทที่สองคือการขับหลบสิ่งกีดขวางแบบต่อเนื่องด้วยความเร็วที่กำหนด และสุดท้ายคือการขับรถด้วยความเร็วที่กำหนดและให้เหยียบเบรกแบบทันทีทันใด โดยระยะทางเบรกที่เกิดขึ้นจะต้องไม่เกิน 5 เมตร หากผู้เข้าร่วมแข่งขันสามารถผ่านด่านสุดหินทั้งสองไปได้ ก็พร้อมที่จะโลดแล่นบนไฮเวย์หมายเลข

Read more

ประวัติความเป็นมาของรถพลังงานแสงอาทิตย์ (ตอนที่ 8)

ด่านแรกในการเข้าร่วมการแข่งขันในรายการ World Solar Challenge (WSC) ที่ทุกทีมจะต้องเจอคือการทดสอบสมรรถนะ แบบอยู่กับที่ (static scrutineering) ซึ่งทางผู้จัดได้เชิญสุดยอดผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งจากหน่วยงานจากภาครัฐ เอกชน และสถาบันการศึกษา ที่มีความชำนาญเป็นพิเศษในแต่ละด้าน เช่น ด้านวิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมพลังงาน และวิศวกรรมความปลอดภัย รวมถึงกรรมการซึ่งเป็นผู้กำหนดกฎกติกาในการแข่งขัน

Read more

ประวัติความเป็นมาของรถพลังงานแสงอาทิตย์ (ตอนที่ 7)

การทดสอบสมรรถนะของรถก่อนการแข่งขัน (scrutineering) เป็นอีกอุปสรรคหนึ่งที่ผู้เข้าร่วมแข่งขันจะต้องเผชิญ ถ้าผ่านได้ก็ไปต่อ ถ้าไม่ผ่านคงทำได้แค่ยืนเชียร์เพื่อนๆ ที่ผ่านได้เข้าร่วมการแข่งขัน การทดสอบสภาพรถเป็นเรื่องที่ผู้จัดให้ความสำคัญมาก ใช้เวลาเกื่อบจะสัปดาห์ เนื่องจากดำเนินการโดยบรรดาคณะกรรมการซึ่งประกอบไปด้วย กรมการขนส่งทางบกของประเทศออสเตรเลีย ผู้เชี่ยวชาญและคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยต่างๆ รถที่ผ่านการตรวจสอบจะได้ทะเบียนรถอย่างเป็นทางการของประเทศออสเตรเลีย จึงจะมีโอกาสโลดแล่นบนท้องถนนได้ การทดสอบแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ แบบอยู่กับที่ (static scrutineering)

Read more

ประวัติความเป็นมาของรถพลังงานแสงอาทิตย์ (ตอนที่ 6)

รางวัลของผู้ชนะในรายการ World Solar Challenge (WSC) คืออะไร หลายคนอาจสงสัย บางคนอาจคิดว่ามีมูลค่ามากมายเพราะการเป็นผู้ชนะไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องฝ่าฟันปัญหาและอุปสรรคมากมาย ตั้งแต่กระบวนการออกแบบ การสร้าง จนถึงการแข่งขันแบบเอาเป็นเอาตาย ไม่เสร็จไม่เลิก และการเดินทางแบบค่ำที่ไหนนอนที่นั่น แต่สิ่งที่ผู้ชนะได้รับเป็นเพียงถ้วยรางวัล 1 ใบ และการประกาศชื่อบนเวที ซึ่งไม่มีเงินรางวัลใดๆ ทั้งสิ้น

Read more

ประวัติความเป็นมาของรถพลังงานแสงอาทิตย์ (ตอนที่ 5)

World Solar Challenge (WSC) ในวันนี้นับเป็นรายการแข่งขันซึ่งชาวออสออสเตรเลียภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง เพราะเปรียบเสมือนเป็นเป็นแหล่งนำเสนอเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านยานพาหนะแห่งอนาคตที่ทั่วโลกเฝ้าติดตาม โดยจัดขึ้นทุกๆ สองปี ซึ่งในแต่ละครั้ง ประเทศต่างๆ จากทั่วทุกมุมโลกก็จะเอาผลงานการวิจัยหรือนวัตกรรมต้นแบบใหม่ๆ มานำเสนออยู่เสมอ เพื่อแสดงถึงความเป็นผู้นำในเทคโนโลยีด้านดังกล่าว เพราะฉะนั้นเราจะได้พบเห็นผลงานการค้นคว้าใหม่ๆ หรือนวัตกรรมใหม่ๆ ก่อนที่จะกลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่วางขายตามท้องตลาดอยู่เสมอ ที่สำคัญการมางานนี้งานเดียวจะได้ชมผลงานการออกแบบรถพลังงานแสงอาทิตย์จากกว่า 30 ประเทศทั่วโลก ซึ่งมีความแตกต่างหลากหลายพบผู้เข้าร่วมแข่งขันที่มีความแตกต่างกันทั้งในด้านภาษาและวัฒนธรรม

Read more