ประวัติความเป็นมาของรถพลังงานแสงอาทิตย์ (ตอนที่ 10)

หลังการทดสอบสมรรถนะ แบบอยู่กับที่ (static scrutineering) และ แบบเคลื่อนที่ (dynamic scrutineering) ที่แสนยาวนาน สิ่งที่ผู้ร่วมแข่งขันซึ่งผ่านการทดสอบจะได้รับก็คือ ทะเบียนรถอย่างเป็นทางการซึ่งออกโดย รัฐนอร์เทิร์นเทร์ริทอรี (Northern Territory) ของประเทศออสเตรเลีย หลังจากนี้รถพลังงานแสงอาทิตย์ก็จะสามารถขับเคลื่อนบนท้องถนนของประเทศได้อย่างถูกต้องตามกฏหมาย โดยจะเริ่มปล่อยตัวจากเมืองดาร์วิน (Darwin) ตั้งแต่เช้าในวันถัดไป เพื่อออกเดินทางมุ่งหน้าไปยังเมือง

Read more

ประวัติความเป็นมาของรถพลังงานแสงอาทิตย์ (ตอนที่ 9)

หลังการทดสอบสมรรถนะ แบบอยู่กับที่ (static scrutineering) ถัดไปก็จะเป็นการทดสอบแบบเคลื่อนที่ (dynamic scrutineering) สิ่งที่เราจะต้องทดสอบกันในวันนี้คือการเคลื่อนที่ใน 3 ประเภท ประเภทแรกคือการเลี้ยวโค้งโดยรัศมีวงเลี้ยวต้องไม่เกิน 16 เมตร ประเภทที่สองคือการขับหลบสิ่งกีดขวางแบบต่อเนื่องด้วยความเร็วที่กำหนด และสุดท้ายคือการขับรถด้วยความเร็วที่กำหนดและให้เหยียบเบรกแบบทันทีทันใด โดยระยะทางเบรกที่เกิดขึ้นจะต้องไม่เกิน 5 เมตร หากผู้เข้าร่วมแข่งขันสามารถผ่านด่านสุดหินทั้งสองไปได้ ก็พร้อมที่จะโลดแล่นบนไฮเวย์หมายเลข

Read more

ประวัติความเป็นมาของรถพลังงานแสงอาทิตย์ (ตอนที่ 8)

ด่านแรกในการเข้าร่วมการแข่งขันในรายการ World Solar Challenge (WSC) ที่ทุกทีมจะต้องเจอคือการทดสอบสมรรถนะ แบบอยู่กับที่ (static scrutineering) ซึ่งทางผู้จัดได้เชิญสุดยอดผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งจากหน่วยงานจากภาครัฐ เอกชน และสถาบันการศึกษา ที่มีความชำนาญเป็นพิเศษในแต่ละด้าน เช่น ด้านวิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมพลังงาน และวิศวกรรมความปลอดภัย รวมถึงกรรมการซึ่งเป็นผู้กำหนดกฎกติกาในการแข่งขัน

Read more

ประวัติความเป็นมาของรถพลังงานแสงอาทิตย์ (ตอนที่ 7)

การทดสอบสมรรถนะของรถก่อนการแข่งขัน (scrutineering) เป็นอีกอุปสรรคหนึ่งที่ผู้เข้าร่วมแข่งขันจะต้องเผชิญ ถ้าผ่านได้ก็ไปต่อ ถ้าไม่ผ่านคงทำได้แค่ยืนเชียร์เพื่อนๆ ที่ผ่านได้เข้าร่วมการแข่งขัน การทดสอบสภาพรถเป็นเรื่องที่ผู้จัดให้ความสำคัญมาก ใช้เวลาเกื่อบจะสัปดาห์ เนื่องจากดำเนินการโดยบรรดาคณะกรรมการซึ่งประกอบไปด้วย กรมการขนส่งทางบกของประเทศออสเตรเลีย ผู้เชี่ยวชาญและคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยต่างๆ รถที่ผ่านการตรวจสอบจะได้ทะเบียนรถอย่างเป็นทางการของประเทศออสเตรเลีย จึงจะมีโอกาสโลดแล่นบนท้องถนนได้ การทดสอบแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ แบบอยู่กับที่ (static scrutineering)

Read more

เมื่อ STC-2 Edison ลงถนนทดสอบครั้งแรกต้องเจอด่านพี่ๆตำรวจจะเป็นอย่างไร

ในวันที่ 22 สิงหาคม 2560 ทีมงาน Solar Car Thailand ได้มีการทดสอบรถพลังงานแสงอาทิตย์ โดยการทดสอบบนท้องถนนจริง เพื่อตรวจสอบสมถรรนะของตัวเพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่มีอะไรผิดพลาดก่อนส่งไปร่วมแข่งขันรายการ world solar challenge 2017 ที่ประเทศออสเตรเลีย ทั้งนี้การทดสอบทดทางทีมได้มีการเตรียมการโดยยื่นขออนุญาตการใช้ท้องถนนกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและมีการจัดเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่ออำนวยความสะดวกตามประกบรถของทีมในระหว่างทดสอบ และมีทีม service เผื่อมีเหตุฉุกเฉิน

Read more

ประวัติความเป็นมาของรถพลังงานแสงอาทิตย์ (ตอนที่ 6)

รางวัลของผู้ชนะในรายการ World Solar Challenge (WSC) คืออะไร หลายคนอาจสงสัย บางคนอาจคิดว่ามีมูลค่ามากมายเพราะการเป็นผู้ชนะไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องฝ่าฟันปัญหาและอุปสรรคมากมาย ตั้งแต่กระบวนการออกแบบ การสร้าง จนถึงการแข่งขันแบบเอาเป็นเอาตาย ไม่เสร็จไม่เลิก และการเดินทางแบบค่ำที่ไหนนอนที่นั่น แต่สิ่งที่ผู้ชนะได้รับเป็นเพียงถ้วยรางวัล 1 ใบ และการประกาศชื่อบนเวที ซึ่งไม่มีเงินรางวัลใดๆ ทั้งสิ้น

Read more

ประวัติความเป็นมาของรถพลังงานแสงอาทิตย์ (ตอนที่ 5)

World Solar Challenge (WSC) ในวันนี้นับเป็นรายการแข่งขันซึ่งชาวออสออสเตรเลียภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง เพราะเปรียบเสมือนเป็นเป็นแหล่งนำเสนอเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านยานพาหนะแห่งอนาคตที่ทั่วโลกเฝ้าติดตาม โดยจัดขึ้นทุกๆ สองปี ซึ่งในแต่ละครั้ง ประเทศต่างๆ จากทั่วทุกมุมโลกก็จะเอาผลงานการวิจัยหรือนวัตกรรมต้นแบบใหม่ๆ มานำเสนออยู่เสมอ เพื่อแสดงถึงความเป็นผู้นำในเทคโนโลยีด้านดังกล่าว เพราะฉะนั้นเราจะได้พบเห็นผลงานการค้นคว้าใหม่ๆ หรือนวัตกรรมใหม่ๆ ก่อนที่จะกลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่วางขายตามท้องตลาดอยู่เสมอ ที่สำคัญการมางานนี้งานเดียวจะได้ชมผลงานการออกแบบรถพลังงานแสงอาทิตย์จากกว่า 30 ประเทศทั่วโลก ซึ่งมีความแตกต่างหลากหลายพบผู้เข้าร่วมแข่งขันที่มีความแตกต่างกันทั้งในด้านภาษาและวัฒนธรรม

Read more

ทดสอบประสิทธิภาพรถพลังงานแสงอาทิตย์ STC-2 ทั้งสองรุ่น

เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2560 เวลา 9.30-16.30 น. ดร.ฐกฤต ปานขลิบ คณบดีคณะเทคโนโลยี และผู้อำนวยการหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต และอาจารย์อุบลวรรณ สุวรรณ ผู้ช่วยรองอธิการบดีฝ่ายบริหาร วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม (STC) นำทีมอาจารย์และนักศึกษาผู้ผลิตรถพลังงานแสงอาทิตย์ STC-2 ทั้ง 2

Read more

ประวัติความเป็นมาของรถพลังงานแสงอาทิตย์ (ตอนที่ 4)

สังเกตุได้ว่าหน้าตาของรถพลังงานแสงอาทิตย์ที่เข้าร่วมแข่งขันในรายการ World Solar Challenge (WSC) จะเปลี่ยนแปลงไปทุกๆ ปี สาเหตุอันเนื่องมาจากกฏเกณฑ์การแข่งขัน ซึ่งผู้จัดได้ปรับเปลี่ยนให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ ให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีในด้านต่างๆ ซึ่งถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการปรับลดพื้นที่รับแสงของโซล่าเซลล์ การปรับลดขนาดความยาวหรือความกว้างของตัวรถ การเปลี่ยนแปลงความจุและประเภทแบตเตอรี่ ฯลฯ แต่สิ่งที่ผู้จัดให้ความสำคัญเป็นพิเศษตลอดมาก็คือเรื่องของมาตรฐานความปรอดภัย การเปลี่ยนแปลงกฏและกติกาต่างๆ ทำให้เกิดโจทย์ที่ท้าทายต่อผู้ที่จะเข้าร่วมการแข่งขันอยู่เสมอมา ซึ่งเป็นการเพิ่มเสน่ห์ให้การแข่งขัน และสิ่งเหล่านี้นั่นเองที่ทำให้การแข่งขันในแต่ละครั้ง

Read more

ประวัติความเป็นมาของรถพลังงานแสงอาทิตย์ (ตอนที่ 3)

ข้อได้เปรียบของรถพลังงานแสงอาทิตย์ที่เห็นได้ชัดก็คือ ไม่ต้องใช้เติมน้ำมันหรือพลังงานสิ้นเปลืองใดๆ ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แต่การออกแบบและสร้างก็ไม่ใช่เรื่องที่ง่ายนัก เพราะจะต้องออกแบบให้ใช้พลังงานที่สะสมจากแสงอาทิตย์ซึ่งมีไม่มากให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการขับเคลื่อน โดยทั่วไปรถพลังงานแสงอาทิตย์จะประกอบด้วย แผงเซลล์แสงอาทิตย์ มอเตอร์ไฟฟ้า ชุดแบตเตอรี่ ชุดระบบควบคุมไฟฟ้า และลำตัวรถซึ่งอาจจะมีหน้าตาที่แตกต่างกันออกไปตามจินตนาการของผู้ออกแบบ หลายคนอาจพูดว่ามันคือยานพาหนะแห่งอนาคต แต่ที่สำคัญก็คือเทคโนโลยีดังกล่าวช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างดี เพราะไม่ก่อให้เกิดมลพิษใดๆ ขณะใช้งาน ไม่ต้องเติมเชื้อเพลิง ไม่ต้องชาร์ทไฟฟ้า จึงช่วยให้เราสามารถลดการใช้หรือการนำเข้าพลังงานได้เป็นอย่างดี และที่สำคัญจะช่วยลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกขึ้นสู่บรรยากาศ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหาสภาวะโลกร้อนในปัจุบัน

Read more